พฤษภาคม 16, 2024

ดร.ธันยกานต์ วงษ์อ่อน รังสรรค์หนังสือครั้งประวัติศาสตร์ “เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากสุสานโบราณปริศนาบนเทือกเขาถนนธงชัย”

0 0
Read Time:6 Minute, 31 Second

ดร.ธันยกานต์ วงษ์อ่อน รังสรรค์หนังสือครั้งประวัติศาสตร์

“เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากสุสานโบราณปริศนาบนเทือกเขาถนนธงชัย”

รายได้ส่วนหนึ่งมอบให้การกุศล นำไปสร้างและซ่อมแซมวิหารพระศรีสรรเพชญสังคโลก วัดพุทธวิชยาราม จังหวัดปทุมธานี

 
       ดร.ธันยกานต์ วงษ์อ่อน ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เครื่องถ้วยโบราณ ผู้เขียนหนังสือ “เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากสุสานโบราณปริศนาบนเทือกเขาถนนธงชัย” ว่า ต้องการให้หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนแหล่งค้นคว้าของคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับเครื่องถ้วยที่ค้นพบบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย ซึ่งเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ไทยในทุกยุคทุกสมัย และยังเป็นหลักฐานบ่งชี้ที่สำคัญซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นว่าในพื้นที่เทือกเขาถนนธงชัยมีชุมชนโบราณต้ังแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาแตก จากหลักฐานเครื่องถ้วยโบราณที่ขุดพบได้บริเวณดังกล่าวยังบ่งชี้ได้ว่าเครื่องถ้วยโบราณเริ่มจากหายไปต้ังแต่ยุคสมัยใด
 


        เครื่องถ้วยโบราณชิ้นที่เราเจอมีถึงร้อยละ 90 มาจากเทือกเขาถนนธงชัย และที่เหลือมาจากหลุมศพโบราณ ซึ่งมีนักวิจัยได้มาศึกษาค้นคว้าว่า เครื่องถ้วยโบราณที่ขุดพบน้ันสามารถสืบค้นถึงประวัติศาสตร์ได้ และที่ผ่านมาคนไทยยังไม่ค่อยรู้เรื่องเครื่องถ้วยโบราณมากนัก หนังสือเล่มนี้ได้มีการอธิบายปรากฎการณ์ไล่เลียงมาของเครื่องถ้วยโบราณ โดยเฉพาะปรากฎการณ์สำคัญๆ คือ เหตุการณ์อุ้มผาง-อมก๋อยแตก ในช่วงราวๆ ปี พ.ศ. 2520 ต้นๆ เพราะฉะน้ันที่ผ่านมาเพราะคนไม่รู้มาก่อนว่าเครื่องถ้วยโบราณน้ันมีอยู่จริง ก็จะไม่เชื่อ แต่หนังสือเล่มนี้จะบอกหมด ต้ังแต่แหล่งที่มาของการขุดพบเครื่องถ้วยบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย พื้นที่อยู่ห่างไกลความเจริญ และเครื่องถ้วยที่ขุดได้ยังบอกถึงชาติพันธุ์ที่สืบกันมาต้ังแต่คร้ังประวัติศาสตร์จนมาถึงปัจจุบัน ที่สันนิษฐานว่า เหลือเพียง 2 ชนเผ่าคือ ชนเผ่าลั่วและชนเผ่ากระเหรี่ยง เพราะฉะน้ันหนังสือเล่มนี้อาจกล่าวได้ว่า ทำให้คนรุ่นหลังไม่ลืมกลุ่มชาติพันธ์ ซึ่งหากไม่มีการทำหนังสือบันทึกไว้ประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์ อาจถูกลืมเลือนไป

 

 


       สำหรับเหตุการณ์อุ้มผาง-อมก๋อยแตก จนนำมาสู่การไหลทะลักของเครื่องถ้วยโบราณบริเวณเทือกเขาถนนธงชัยให้ออกมาสู่สายตาชาวโลก และผ่านมือนักสะสมของโบราณเกิดขึ้นเมื่อราวๆ 40 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งนับเป็ นเหตุการณ์ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของหน้าประวัติศาสตร์การขุดพบเครื่องถ้วยโบราณในไทย
 

 


       ดังน้ันเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้ ดร.ธันยกานต์ วงษ์อ่อน ต้ังใจบรรจงสรรค์สร้างหนังสือ “เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากเทือกเขาถนนธงชัย” เพื่อบันทึกหน้าประวัติศาสตร์คร้ังสำคัญให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และจดจำ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตำราประวัติศาสตร์ของไทยที่จะทำให้เยาวชนไทยได้มีหนังสือที่มีจำนวน 472 หน้าสี่สี มีเนื้อหาที่สามารถสืบค้นภาพเครื่องถ้วยโบราณที่ขุดพบได้บริเวณเทือกเขาถนนธงชัย เพื่อเชื่อมโยงกับหน้าประวัติศาสตร์ ไทย และ ประวัติศาสตร์โลก

 

 


      ระยะเวลา 40 กว่าปี ก็มีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียน ทำให้คนรุ่นใหม่อาจจะไม่ทราบความเป็นมา เพราะ ณ ขณะนี้ก็จะไม่มีใครทราบปรากฎการณ์อุ้มผาง-อมก๋อยแตก ถ้าเราไม่ทำก็จะทำให้โดนลบไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จึงจำเป็นต้องทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และเมื่อศึกษาเรื่องเครื่องถ้วยโบราณท ำให้มีข้อมูลลึกไปเรื่อยๆ เพราะมีความน่าสนใจว่า ชาติพันธ์ไหนทำให้เครื่องป้ันดินเผาเหล่านี้เกิดขึ้นมา ผมเรียกศิลปะเครื่องถ้วยโบราณว่า “เป็นประณีตศิลป์ มหัศจรรย์” เพราะเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดจากที่เขาทำ เช่น จานใบหนึ่งในเครื่องถ้วยโบราณที่อมก๋อยมีปลา 4-5 ตัว  แต่พื้นที่อื่นเจอการเขียนปลาบนเครื่องถ้วยโบราณเพียงตัวเดียว จากการค้นพบดังกล่าวทำให้เรารู้คือ สังคมตรงน้ัน อาจเป็นเมือง เป็นชุมชน รวมท้ังที่ผ่านมาเรายังเจอเครื่องถ้วยของจีน โดยเครื่องถ้วยลายครามของจีนที่มีการประมูลกัน 200-300 ล้านบาท ก็ไปเจอกันที่บริเวณเทือกเขาถนนธงชัย ซึ่งก็น่าสนใจและน่าไปสืบค้น เพราะเราไปเจอทุกอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) และ ยังค้นพบเครื่องถ้วยโบราณต้ังแต่สมัยสุริยะวรมัน และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุคเก่าแก่ สมัยเขมรต่ำ เขมรสูง และที่เก่าไปกว่าน้ันคือเจอลูกปัดสมัยทวาราวดีรวมท้ังยังเจอขวานยุคก่อนประวัติศาสตร์และในยุคร่วมสมัยกับศิลปะบ้านเชียง

 

 


       สำหรับเนื้อหาในหนังสือมีทั้งหมด 7 บท เริ่มจากบทแรกของ ดร.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร ที่จะมาบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นและการพัฒนาของเครื่องปั้นดินเผาของประเทศไทยว่ามาจากที่ไหน บทที่สองเป็นเรื่องของการสำรวจของศาสตราจารย์ อุษณีย์ ธงไชย เมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องราวการสำรวจได้เป็นอย่างดี บทที่สามเป็นของอาจารย์ธีระเดช เรือนแก้ว ผู้ที่อยู่ในพื้นที่อำเภออมก๋อย ท่านก็จะเล่าถึงการค้นพบหลุมศพโบราณในอำเภออมก๋อย บทต่อมาเป็นของดร.ธันยกานต์ วงษ์อ่อน ผู้เขียน ที่ถ่ายทอดออกมา หลังจากที่ได้ไปพูดคุยกับปราชญ์ที่มีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้ไปทำการขุดค้นโบราณวัตถุเมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว ในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นอย่างดี และส่วนที่เขียนถึงว่าทำไมถึงค้นพบเครื่องปั้นดินเผาที่ทรงคุณค่าในชุมชนเทือกเขาถนนธงชัย ส่วนสุดท้ายจะเป็นส่วนของเกี่ยวกับประณีตศิลป์อัศจรรย์ ซึ่งเป็นเครื่งปั้นดินเผาที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน อยู่ในคอลเลคชั่นเครื่องปั้นดินเผาของผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน ที่มีความสนใจเก็บรวบรวมไว้ และที่น่าสนในก็คือได้อยู่ในเทือกเขาถนนธงชัยในช่วงของอุ้มผาง-อมก๋อยแตกในช่วงนั้นก็มีในหนังสือเล่มนี้

 

 


       หนังสือ เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากสุสานโบราณปริศนาบนเทือกเขาถนนธงชัย” เปิดให้จองตั้งแตวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ทางช่องทางออนไลน์ หรือติดต่อโดยตรงได้ที่โรงเรียนถนอมบุตรถนนสุขาภิบล 3 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โทร. 02-374-3999 รายได้จากการจำหน่ายหนังสือเล่มนี้ หลังหักค่าใช้จ่าย ก็จะนำไปเป็นการกุศล นำไปสร้างและซ่อมแซมวิหารพระศรีสรรเพชญสังคโลก วัดพุทธวิชยาราม คลองหก จังหวัดปทุมธานี

 

 


        และในเสาร์วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นี้ ดร.ธันยกานต์ วงษ์อ่อน ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เครื่องถ้วยโบราณ ดีเดย์ เปิดตัวหนังสือ “เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากสุสานโบราณปริศนาบนเทือกเขาถนนธงชัย” ณ ห้องดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่เวลา 11.15 น.
        จึงขอเชิญชวนผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์ไทย ร่วมงานพิธีเปิดตัวหนังสือ “เล่าขานตำนานเครื่องถ้วยจากสุสานโบราณปริศนาบนเทือกเขาถนนธงชัย” ” โดยมีนายโยธิน ธาราหิรัญโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท บีเอสวาย กรุ๊ป เป็นประธานในพิธี พร้อมร่วมฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “ปฐมบทของเครื่องเคลือบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดย ดร.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และการเสวนาเรื่อง “เครื่องปั้นดินเผาที่พบบนเทือกเขาถนนธงชัย” โดยเปิดมุมมองของนักวิชาการและนักสะสมเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่พบจากเทือกเขาถนนธงชัยร่วมสมัยกับปรากฎการณ์ “อุ้มผาง-อมก๋อยแตก” ซึ่งมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ ทันตแพทย์ พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์, ดร.ปริวรรต ธรรมาปรีชากร, ดร. ธันยกานต์ วงษ์อ่อน, คุณโยธิน ธาราหิรัญโชติ, อาจารย์ภุชชงค์ จันทวิช, คุณบุรินทร์ สิงโตอาจ, คุณเกรียงไกร อุณหะนันทน์, คุณสนอง ทองอ้นและ คุณพินิตย์ ทองอ้น

 

 


        งานดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้ศึกษาเครื่องถ้วยโบราณที่ค้นพบบริเวณเทือกเขาถนนธงชัย ซึ่งกลายเป็นร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ที่บอกรากเหง้าความเป็นไทย และ อารยธรรมทางการค้าร่วมสมัย ตั้งแต่ราชวงศ์ถังของจีน สมัยขอม และกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งเพื่อรำลึกถึงอารยธรรมของไทยที่สามารถศึกษาได้ ผ่านปรากฎการณ์ “อุ้มผาง-อมก๋อยแตก” เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว และผ่านศิลปะบนเครื่องถ้วยโบราณที่ยากจะหาฟังได้ในเวทีอื่น

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %